โฆษณาแบบวิดีโอ (Video) ยิงแอดแบบไหนให้มีประสิทธิภาพ!
ผลิตชิ้นงานวิดีโอแล้ว ควรนำไปซื้อโฆษณาอย่างไรดี ? ควรเริ่มจากตรงไหนดีคะ
วันนี้มาดูแนวทางเบื้องต้นกัน
ขั้นแรก ก่อนที่จะคิดว่าควรซื้อโฆษณาอะไรดี ต้องถามตัวเองก่อนว่า คุณอยากได้อะไรจากชิ้นงานวิดีโอที่ผลิตขึ้น เช่น ต้องการให้มีคนดูวิดีโอนี้จำนวนมาก ต้องการให้เกิดการขาย หรือต้องการให้มีคนมากดไลค์ กดแชร์ กดคอมเมนต์ หรือก็คือ วิดีโอชิ้นนี้ทำมาเพื่อตอบโจทย์ในการสร้าง Awareness, Consideration หรือ Conversion นั่นเอง
ขั้นที่สอง กำหนดช่องทางที่ปล่อยชิ้นงานโฆษณาวิดีโอ ว่าจะนำไปเผยแพร่ที่ช่องทางใดบ้าง เช่น Facebook , YouTube หรือมีการตัดวิดีโอให้สั้นลงเป้น Short-Video อีกหนึ่งเวอร์ชั่น แล้วนำไปเผยแพร่ที่ TikTok หรือ Instagram เป็นต้น เพราะแต่ละช่องทางก็มีการซื้อโฆษณา รูปแบบ และวัตถุประสงค์ของการซื้อโฆษณาที่ไม่เหมือนกัน
ขั้นที่สาม ทำความเข้าใจวิธีการซื้อโฆษณาในแต่ละช่องทาง เช่น
– YouTube นิยมซื้อโฆษณาที่เรียกว่า YouTube Skippable In-stream ads หรือโฆษณาที่เข้าไปแทรกคั่นวิดีโอก่อนหรือระหว่างคลิป โดยกลุ่มเป้าหมายสามารถกดข้ามโฆษณาได้เมื่อม่ปุ่มให้กดข้ามขึ้น (Skippable) และยังมีรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย สามารถนำไปซื้อเพื่อ Drive Conversion ก็สามารถทำได้เช่นกัน
– Facebook หากต้องการเน้นไปที่การชมวิดีโอ สามารถใช้วัตถุประสงค์ที่ชื่อว่า Facebook video ads โดยกำหนดการซื้อให้เป็นแบบ Thruplay หรือถ้าต้องการนำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น ๆ ก็สามารถทำได้ เช่น Inbox Ads, Engagement, Lead Generation หรือ Conversion เป็นต้น
– TikTok Ads แพลตฟอร์มที่เน้น Short-Videos เป็นหลักเพื่อสร้าง Engagement กับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งชิ้นงานที่ใช้ในการซื้อโฆษณาใน TikTok จะต้องเป็นวิดีโอเท่านั้น หากเป็นภาพแนะนำให้ไปทำเป็นไฟล์วิดีโอ ใส่การเคลื่อนไหวก่อนนำมาซื้อโฆษณา สามารถนำไปซื้อ Video View, Traffic หรือ Followers เป็นต้น
ขั้นที่สี่ เริ่มซื้อโฆษณา และติดตามผลอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับปรุงแคมเปญโฆษณาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยถ้าคุณซื้อโฆษณาเพื่อเน้นการชมวิดีโอ สิ่งสำคัญเลยคือ อย่าเชื่อเพียงแค่ตัวเลขหน้าบ้านว่า จำนวนการชมสูงมาก แสดงว่าวิดีโอนี้น่าจะได้รับความสนใจมากกว่าวิดีโอตัวอื่นที่มีจำนวนการชมน้อยกว่า ต้องไปดู Insight หลังบ้านของวิดีโอตัวนั้น ว่าระยะเวลาเฉลี่ยในการชมวิดีโออยู่ที่กี่วินาที กี่นาที และเมื่อไหร่ที่กลุ่มเป้าหมายค่อย ๆ หายไป หรือออกจากวิดีโอ แล้วเปรียบเทียบกับวิดีโอตัวอื่น ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงเนื้อหาของวิดีโอให้น่าสนใจมากขึ้นในครั้งต่อ ๆ ไปนั่นเอง