การสร้าง mindset และทัศนคติเชิงบวก ต่ออาชีพและทีมงาน

การสร้าง mindset และทัศนคติเชิงบวก ต่ออาชีพและทีมงาน

เพราะเหตุใดเราจึงต้องมี mindset ที่ดี หรือทัศนคติเชิงบวกต่อการทำงานของเราเอง

เราจะมาคุยกันในพาร์ทที่เรียกว่า inside ซึ่งจะประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ จำนวน 5 บทเรียน และนำเข้าสู่ 1 เวิร์คช็อปร่วมกันค่ะ เพราะการทำอะไรก็ตามเราต้องปรับจาก inner ข้างในก่อน เราต้องมีความสัมพันธ์ที่รู้สึกดีต่อตัวเอง สิ่งที่เราทำอยู่ คนรอบข้าง ที่ต้องพบเจอ สื่อสารด้วย ก่อน แต่ถ้าหากเรายังไปไม่ถึงจุดที่มีทัศนคติด้านดีต่อเหตุการณ์ข้างต้น สิ่งที่เราต้องทำ คือ รู้และเข้าใจ และรับได้อย่างสบายใจว่า “ทำไมเราถึงทำเช่นนั้น” นั่นเอง และพยายามดันตัวเองให้ปรับไปทางด้านดีให้ได้ เพราะทัศนคติ หรือวิธีคิดของเรา คือ จุดเริ่มต้นของทุกอย่าง

การสร้าง mindset และทัศนคติเชิงบวกต่ออาชีพและทีมงาน

จากนิยามความสำเร็จของทุกท่านที่ได้อ่านมานั้น ทุกท่านมีทัศนคติ หรือ วิธีคิด ที่ส่งออกมาผ่านงานเขียน ที่ดีต่ออาชีพ และ บทบาทการทำงานของตนเอง ทั้งต่อ ผู้บริหารระดับสูงกว่า, ต่อทีมงานที่ต้องบริหารเพื่อพาไปให้ถึงเป้าสำเร็จที่มีร่วมกันเป็นอย่างดี

เหตุจูงใจในการทำงานของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน เราจะสามารถช่วยหา และสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการทำงานให้แต่ละบุคคลได้อย่างไร (การช่วยค้นหา และกระตุ้น mindset ที่ดี)

หลักการง่ายๆ ย่อยสารให้เป็นภาษาที่เข้าใจได้

“ยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบของตนเองได้ก่อน คุณก็จะพร้อมย้ายมันหรือทำมันใหม่ได้” เขียนมันออกมา อย่างน้อย 20 ข้อดี และ หาข้อเสีย หรือสิ่งที่ตัวเองจะต้องปรับปรุงย้ายมาด้านดีให้ได้มากที่สุด นั่นคือหลักการแรกที่คุณจะปรับทัศนคติ หรือสร้าง mindset ใหม่ได้ เพราะถ้าคุณยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบของตนเองได้ก่อน คุณก็พร้อมที่จะปรับ mindset ของตัวเองได้
“บนอาชีพนี้ จะ “กด” หรือ “ดัน” ตัวเอง คุณคือคนกำหนดเท่านั้น” เราอยู่บนอาชีพที่เป็นความคาดหวัง แน่นอน มันจะมาพร้อมความกดดัน คุยกับตัวเองให้เข้าใจก่อนว่า ความกดดัน นี้ จะ ดันให้ไปอยู่ในวิธีคิดเพื่อรับมือด้านบวกอย่างไร จะเลือก “กด” หรือ “ดัน” ตัวเอง เลือกและสื่อสารกับตัวเอง และอุ้มไม่ต้องอธิบายต่อเพราะ 2 คำนี้ชัดเจนมากอยู่แล้ว ถ้าคุณเลือกกด มันก็จะไม่มีทางพาคุณไปสู่ทัศนคติเชิงบวก แต่ถ้าคุณเลือก ดัน แน่นอน มันมีคำตอบในตัวเองชัดเจนมาก ขอให้เลือกได้อย่างถูกต้องนะคะ
“มองหาข้อดี แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย ของอาชีพที่คุณกำลังทำอยู่” เขียนออกมาให้ได้มากที่สุด เพราะที่ผ่านมาเราอาจจะหลงลืมมองเห็นแต่ปัญหาและข้อเสียที่จะต้องแก้ไขตลอดเวลา และเมื่อสะสมนานเอาเราจะเหนื่อยใจ และขาดแรงจูงใจพาตัวเองไปยังอีกด้านที่ดีกว่าค่ะ
“รักษาเป้าใหญ่ ไม่ต้องแบกไปทุกอย่าง” ในบทบาทและหน้าที่ “ตรงกลาง” ระหว่าง ผู้บริหารระดับสูง ที่คุณต้องรับผิดชอบในเป้าหมายที่ให้คำสัญญากับบริษัท และทีมงานที่จะต้องพาไปให้สำเร็จ สิ่งที่จะต้องชัดเจน และย้ำกับตัวเองเสมอคือ เป้าหมาย และ พยายามหลงลืม หรือทิ้งเรื่องระหว่างทาง โดยเฉพาะเรื่องเล็กน้อยบางเรื่อง ไม่ต้อง carry on ไปทั้งหมด จับแค่ focus เป้าหมายหลัก และ พาไปพร้อมตัวเอง
“สร้างเป้าหมายให้รางวัลตนเองแบบรูปธรรมจับต้องได้” จากข้อเขียนสื่อสาร ภาระกิจก่อนเริ่มบทเรียน นั้น จะได้เห็น เรื่องตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้องจำนวนมาก ทั้ง ยอดขาย, ยอดโอน, เป้ารวม, คอมมิชชั่น ต้องสร้างเป้าหมายรูปธรรมที่ชัดเจนของตัวเองด้วย เพราะธรรมชาติของความเป็นบุคคล เราจะให้ลำดับความสำคัญเรื่องของตนเองก่อน และการให้ลำดับความสำคัญของเรื่องนี้ มีผลกระทบแบบระลอกคลื่นไปยังเป้าหมายทีม และองค์กรแน่นอน ลองสร้างเป้าหมายส่วนตัวให้มีภาพชัดเจนในหัวให้ได้ก่อน จากนั้นมันจะมีกระบวนการพิเศษของจิตใต้สำนึกที่จะผลักดันให้เราสร้างภาพเป้าหมายที่ชัดเจนให้กับผู้อื่น และพาไปจนถึงเป้าหมายนั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น รางวัลของการทำงานสำเร็จ เบอร์กิ้น ไตรมาส ละ 1 ใบ หรือ รถยนต์ราคา XX บาท ภายในวันที่ เดือน และ ปี และคุณต้องเห็นภาพนั้นชัดมากๆ ว่าคุณได้รับมันมาแล้วและคุณรู้สึกเช่นไร ไม่งั้นคุณจะถ่ายทอดความรู้สึกส่งต่อได้ไม่ทรงพลัง

.
Brand Communication Agency
Branding & Communication full service
Line: @brandcommunication
Email: info@brandcom.co.th
thThai