5 เทคนิค แก้กลัวการสื่อสาร?

5 เทคนิค แก้กลัวการสื่อสาร?

การสื่อสารเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนจนเชี่ยวชาญได้ แต่ในหลายคนก็ยังมีความกังวล และตื่นกลัวการสื่อสารต่อหน้าผู้คน
มีแนวทางมาบอกในคอนเทนต์นี้

  1. หาจุดของความกลัวตัวเองให้เจอ ในข้อความเหตุข้างต้น และกล้ายอมรับ pain point ของตัวเองในความกลัวข้อนั้นอย่างตรงไปตรงมา
  2. ลองหาคู่สนทนาในหลากหลายอายุ และรูปแบบ เพื่อเป็นการทดลอง และฟังการประเมินการพูดของเราอย่างเปิดใจยอมรับความจริง เพราะนั่นคือเสียงสะท้อนที่จะช่วยให้เราปรับตัวเอง ขจัด และก้าวผ่านทุกความกลัวไปได้
  3. ยิ่งกลัว ยิ่งต้องฝึก ฝึกบ่อยๆ ฝึกทุกวัน เทคนิคส่วนตัวอุ้มเอง คือฝึกพูดที่หน้ากระจก เพราะถ้าไม่ฝึกก็จะไม่มีทางที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นได้
  4. จำไว้ว่าทุกคนมีโอกาสสื่อสารผิดพลาดได้ แม้กระทั่งผู้บริหารองค์กรระดับสูง แต่ไม่ได้ให้ใช้โอกาสนี้ ไม่เตรียมความพร้อม แต่เมื่อรับรู้ว่ามีโอกาสพลาดได้ ก็ต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อม เพื่ออุดรูรั่วไว้ก่อน
  5. ในรูปแบบการสื่อสารแบบพูดนำเสนอ พูดทีไร เรียบเรียงสิ่งที่จะพูดไม่ได้ คนฟังไม่เข้าใจ ทำอย่างไร
    • วิธีเริ่มต้นคือการฝึกเขียนสคริปต์
    • ลำดับประเด็นสำคัญในสคริปต์คือ เราคือใคร จะพูดคุยนำเสนอในเรื่องอะไร, คนฟังเราคือใคร, เขาอยากได้ยินเรื่องอะไร และตรงกับที่เราจะพูดนำเสนอหรือไม่, เรื่องนั้นมีประโยชน์ และตอบโจทย์เขาอย่างไร, หากเป็นเรื่องของปัญหาให้ใส่แนวทางการแก้ไขนำเสนอแนะไว้ด้วย(สามารถบอกในมุมมองส่วนตัวได้)
    • ลองอ่านทบทวน อ่านไปเรื่อยๆ และเติมข้อมูล ฟังเสียงและข้อความที่ตนเองอ่าน ว่าเข้าใจ ได้ข้อมูลกระชับ และได้ความสมบูรณ์หรือไม่
    • ลองตั้งกล้องวิดีโออัดคลิปเพื่อเอาไว้ดูตัวเอง ว่าเวลาที่เราพูดสื่อสารนั้น ออกมาเป็นอย่างไร เพราะเวลาเราพูด เราจะไม่เห็นตัวเอง คนอื่นเป็นคนเห็นเรา ฉะนั้น เราต้องฝึกเห็นตัวเองก่อน ว่าเราชอบที่ตัวเองนำเสนอแล้วใช่หรือไม่ คือกระบวนการเห็นตนเอง และเสริมความมั่นใจให้กับตัวเองนั่นเอง
    • เมื่อออกไปพูดแล้ว ควรสังเกตพฤติกรรม หรืออาการของผู้ฟังร่วมด้วยว่ามีความสนใจหรือไม่
    • พูดไม่ต้องช้าหรือเร็วจนเกินไป ให้คนฟังได้ฟังทัน และใส่น้ำหนักเสียงตามข้อความอารมณ์นั้นๆ
    • ไม่ควรใส่ความคิดเห็นของตนเองในการพูดสื่อสารมากเกินไป ควรพูดจากเหตุและผลตามเนื้อเรื่องจริง และไม่เป็นนักวิเคราะห์ วิจารณ์ในการพูด แต่ให้ฝึกเป็นนักฟัง และตั้งคำถาม เพราะคำถามที่ดีจะนำไปสู่การต่อบทสนทนาในการพูดคุยกัน
    • สำหรับคนที่พูดน้อย ไม่ค่อยกล้าพูด การพูดสื่อสารไม่ได้แปลว่าจะต้องพูดมาก เพียงแค่ฝึกพูดให้ตรงเรื่อง ชัดในประเด็น และข้อมูลครบถ้วนก็เพียงพอแล้ว
    • เพิ่มความผ่อนคลาย หรือกระจายจุดสนใจ โดยใช้ไฟล์ประกอบ, อุปกรณ์ประกอบหรือเติมภาษาท่าทางให้ตรงกับอารมณ์ข้อความนั้น ๆ เข้าไป เช่น ใหญ่ ก็ทำมือกว้างออก, แคบก็ทำมือหุบเข้า เป็นต้น
.
Brand Communication Agency
Branding & Communication full service
Line: @brandcommunication
Email: info@brandcom.co.th
thThai