เมื่อสร้างแบรนด์ใหม่!

เมื่อสร้างแบรนด์ใหม่!

ประเด็นสำคัญคือ

“การวางแผนธุรกิจและการสื่อสารเพื่อสร้างแบรนด์ใหม่”

หากแบรนด์นั้นเป็นร้านอาหาร??

บ้านเราถือว่า ปราบเซียนมานักต่อนัก แต่ก็เป็นตลาดที่อยู่ในปัจจัย 4 ยังเล่นได้ แต่ต้องมีกระบวนการสื่อสารที่จะทำให้แบรนด์ของคุณ เมนูที่คุณคิดว่าดี มี signature อร่อยถูกปากแน่นอน โดยเฉพาะ แบรนด์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ไปนั่งในใจลูกค้า ที่ไม่ใช่แค่มาทดลอง แต่มาซ้ำ และมาบ่อยๆ จนเป็นลูกค้าประจำ และ จุดสำเร็จของคุณคือ เป็น “ร้านโปรด”

สิ่งที่เจ้าของนักลงทุนมักจะลืม มองข้าม และแทบไม่ให้ความสำคัญเลย
และ/หรือ เราเจอได้บ่อยจากการรับบรีฟงาน

(1) ควรเตรียมพร้อม วางแผนสร้างธุรกิจให้ชัด และสื่อสารแบรนด์ในรูปแบบ ทั้งระยะสั้น ระหว่างทาง และสิ่งที่คุณจะต่อยอด

(2) แผนการตลาด, งบการตลาดชัดเจน ก้อนอีเว้นท์ พีอาร์ โฆษณา สิ่งที่มักจะเจอเสมอ ร้านจะเปิดแล้ว ยังไม่มีทีมการตลาด ทำแผน มันควรจะต้องจบตั้งแต่ business plan, cash flow, cost projection แล้ว

(3) การให้ความสำคัญที่นอกจากร้านดัง นำเข้า คือ operation flow ภายในร้าน ที่จะถูกใจ ลูกค้า ไม่ถูกใจ 1 ครั้ง เท่ากับเสียโอกาสอย่างพังพินาศ จากรีวิว, tag, share บอกต่อ มันคือ ธุรกิจ “service” ความ “ถูกใจ” ในบริการยังสำคัญ

(4) การข้ามไม่พ้นระหว่าง การทำธุรกิจ x ขอใช้ connection ความช่วยเหลือ คุณจะได้เม็ดงานอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร? หากเป็นการทำงานแบบขอร้องกัน ช่วยหน่อย ไทยสไตล์ เพราะคิดเพียงว่า agency งานแพง เอาแพลนมาแล้วไปจ้างให้คนราคาถูกทำให้ “วิสัยทัศน์ธุรกิจคุณต้องกว้างกว่านั้น”

(5) Fact Information หรือ Story telling: การไม่มี แม้กระทั้ง fact info หรือ เครื่องมือจะสื่อสารที่จะใช้ connect กับสื่อต่างๆ คุณจะให้เค้านั่งเทียนกันอย่างไร คุณต้องให้ความสำคัญกับ process content story และ fact info. เพื่อให้ข้อมูลได้มากที่สุด ข้อมูลที่แน่น ถูกต้อง ครบถ้วนตรงประเด็ด จะทำให้ตัวกลาง (สื่อ) รับสารได้ประโยชน์สุด และ นำไปถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดความเสี่ยงจากการสื่อสารผิดพลาด จนเป็นความเสียหาย

(6) การไม่เข้าใจ consumer “พฤติกรรมสำคัญและธรรมชาติกลุ่มเป้าหมาย” ลำบากแล้ว คุณต้องคิดถึงคนที่คุณจะขายของว่าต้องการอะไร ไม่ใช่แบรนด์อยากจะทำอะไร ถ้าไม่มีจุด connect กัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เลือกเครื่องมือไหนสื่อสารไปก็ล้มเหลว ท้ายสุด ร้านก็ต้องปิดตัวลงอย่างเงียบๆ

(7) การไม่มี คนหลักที่แบ่งหน้าที่ตัดสินใจได้ชัดเจนในแต่ละเรื่อง จะพบว่า ทุกอย่าง ล้น กระชั้นชิด หรือ เกิน timeline เสมอ นั่นคือจุดเริ่มต้นความเสียหาย ที่มาจากการสื่อสารภายในล้มเหลว ไม่มี decision maker

(8) “ชอบทุกอัน แต่ราคาสูงไป และ โปรเจค น่าจะขยับออกไป ไม่ทัน timeline” อย่าให้คำนี้มาปิดกั้นโอกาสทางธุรกิจของคุณและลดการเติบโตของแบรนด์คุณเอง

ติดต่อเรา
E-mail: info@brandcom.co.th
Line: @brandcommunication

thThai